Thai English Japan
 

 
ฉนวนกันความร้อน(Insulation Foam)

             ฉนวนกันความร้อน(Insulation Foam) เป็นวัสดุที่ใช้เพื่อการประหยัดพลังงานความร้อน ที่สำคัญ ปัจจุบันเกือบทุกอาคารใช้ฉนวนกันความร้อนในการควบคุมอุณหภูมิในอาคาร ให้อยู่ในช่วงที่ต้องการ ฉนวนกันความมีคุณสมบัติในการสกัดกั้นการส่งผ่านความร้อน จากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งซึ่งในแง่ของการใช้งานแล้ว จะใช้ได้ทั้งการรักษาความร้อนและความเย็น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของฉนวน และลักษณะการใช้งานของฉนวนนั้นๆ เช่น ฉนวนกันความร้อนในอุตสาหกรรมแช่แข็ง ตลอดจนการขนส่งอาหารต้องใช้ฉนวนในการรักษาความเย็นของห้องบรรจุอาหาร ส่วนฉนวนกันร้อนบนเครื่องบินโดยสาร ต้องใช้ฉนวนในการรักษาอุณหภูมิภายไหนห้องผู้โดยสาร เป็นต้น

            สำหรับงานฉนวนในอาคารสิ่งก่อสร้างอาจทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น การป้องกันความร้อน การป้องกันเสียง ป้องกันไฟ ฯลฯ อาคารในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นต้องใช้เครื่องทำความร้อน(Heater) และฉนวนเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในอาคารให้อบอุ่น แต่สำหรับในเมืองไทยซึ่งมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อากาศภายนอกมีอุณหภูมิสูง ดังนั้นเพื่อให้ภายในอาคารมีสภาพเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย และเกิดภาวะความสบาย จึงต้องลดความร้อนที่จะเข้ามาภายในอาคาร การใช้ฉนวนกันความร้อนสำหรับประเทศไทยจึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้ามายังภายในอาคารเป็นสำคัญ
 
ฉนวนโพลีเอทธีลีนโฟมกันความร้อน
             ป้องกันความร้อนสมบูรณ์แบบโดยการประสานแผ่น เมทัลไรส์ ฟอยส์บริสุทธิ์ เข้ากับฉนวนโพลีเอทธีลีนโฟม ทำให้มีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อน 97% และป้องกันการส่งผ่านความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบา ความยืดหยุ่นสูง และด้วยโครงสร้างเซลล์แบบปิด ทำให้มีคุณสมบัติในการต้านทานการดูดซึมน้ำและความชื้น และยังช่วยทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนัก ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 55%.
 
     • ความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย
             ผลิตขึ้นจากวัสดุเดียวกันกับที่ใช้ในวงการแพทย์และอุตสาหกรรมอาหารคงสภาพตลอดอายุการใช้งานลักษณะการเผาใหม้ไม่ก่อให้เกิดควันพิษ(TOXIC) จึงปลอดภัยทั้งกับผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
 
     • ลักษณะเด่นที่แตกต่างจากฉนวนแบบอื่นๆ
 
            1. สะท้อนความร้อนถึง 97 % ประหยัดค่าไฟได้สูงถึง 55 %
            2. ความปลอดภัย ไม่มีส่วนผสมของเส้นใย ปลอดสารพิษ สารก่อมะเร็ง ไม่ทำ ให้เกิดอาการแพ้ หรือ ระคายเคือง ใช้กันแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค
            3. ได้ผ่านการทดสอบการป้องกันการลามไฟและการเกิดควันไฟตามมาตรฐาน สากลต่างๆ
            4. อายุการใช้งานยาวนาน ทนต่อทุกสภาวะอากาศ ความชื้น ไม่เสื่อมสภาพ ไม่เกิดฝุ่น และยังไม่เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื่อโรค
            5. เมื่อใช้ฉนวนกันความร้อนประเภทใยแก้วกับโครงหลังคา ปัญหาการรั่วซึม ของน้ำและการกลั่นตัวของหยดน้ำ จะทำให้ฉนวนประเภทนี้ดูดซับน้ำ ทำให้ค่า ต้านทานความร้อนลดลง มีปัญหาเชื้อรา น้ำหนักเพิ่ม เน่าเสีย
            6. น้ำหนักเบา บาง ติดตั้งง่าย สวยงาม เหมาะทุกสภาพการการใช้งานทั้ง อาคารเก่าและใหม่
 
     • วิธีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน
 
       1.วิธีการติดตั้งกับฝ้าเพดาน  
 
1. ติดตั้งโดยปูฉนวนเอสพีไอ เหนือโครงฝ้าเพดานตามแนวโครงคร่าวบน โดยหันด้านฟอยล์ขึ้นด้านบน  2. หากโครงฝ้ามีความกว้างน้อยกว่าความกว้างของฉนวน ให้ใช้คัตเตอร์กรีดที่ฉนวน จากนั้นเสียบฉนวนล็อคเข้ากับโครงลวดให้สนิท 
   
3. ระหว่างรอยต่อของแผ่นอาจติดด้วย เทป 4. ทำตามขั้นตอนข้างตันจนเต็มพื้นที่
   
     
 
  Copyright © 2008 SPI GROUP.All rights reserved.  
  2063 ม. 4 เทพารักษ์ อ. เมือง จ. สมุทรปราการ 10270
โทร. 662-380-0211-5 ,662-758-2808-9 แฟกซ์. 662-7584181 ,662-758-1448 อีเมล์ : info@spi-groups.com